มีเยาวชนจากทั่วโลกสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 52,000 ภาพ สำหรับโครงการประกวดวาดภาพตุ๊กตาผ้าอิเกีย ครั้งที่ 2 ซึ่งผลงานภาพวาดที่ชนะเลิศในระดับประเทศ จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย,ฝรั่งเศส,อียิปต์,ฟินแลนด์,แคนาดา,สาธารณรัฐเช็ก,ฮ่องกง,อินโดนีเชีย,ตุรกี และสเปน จะถูกนำไปออกแบบเป็นตุ๊กตาผ้า เพื่อวางจำหน่ายในสโตร์อิเกียทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายน 2559 และมูลนิธิอิเกียจะมอบเงิน 1 ยูโร (39 บาท) ต่อตุ๊กตาผ้าทุกตัวที่จำหน่ายได้ เพื่อนำไปส่งเสริมด้านการเล่นและพัฒนาการของเด็ก ๆ ในชุมชนที่ขาดแคลนทั่วโลก
ภาพวาดเส้นด้วยหมึกบนกระดาษ สะท้อนชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ,ภาพวาดเทคนิคสีอะคริลิคและสีเทียน สะท้อนชีวิตที่พยายามรักษาจิตวิญญาณวัยเยาว์เอาไว้ แม้วัยจะเปลี่ยนไป,ภาพวาดและสื่อผสม (อาทิ อุปกรณ์ทำงาน craft )บนภาพถ่ายโบราณ เพื่อสร้างราวใหม่ให้กับภาพถ่าย เปรียบเหมือนกับการสร้างชีวิตใหม่กับตัวเองเอง แต่ก็ไม่ปฏิเสธอดีตของตัวเอง และหุ่นตุ๊กตา ที่ร่างกายและศีรษะถูกตกแต่งใหม่ เพื่อสะท้อนว่าแต่ละคนต่างมีโลกของตัวเอง มีความพิเศษในแบบของตัวเอง ไม่ใช่ตุ๊กตาที่หน้าตาคล้ายๆกัน ผลิตจากโรงงานเดียวกัน
เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานของเขมานันทะให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก ด้วยเหตุนี้เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บรรดาลูกศิษย์ที่เคารพนับถือ จึงร่วมกันจัดงาน ครุอภิวาท ‘รู้สึกตัว’ ผ่านงานอาจารย์ ‘เขมานันทะ’ โดยมีนิทรรศการแสดงภาพวาดพู่กันจีน เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน เพราะที่ผ่านมา นอกจากชื่อของเขมานันทะ จะเป็นที่รู้จักในฐานะ นักเขียนและกวี ที่มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 60 เล่ม หลายเล่มมีอิทธิพลกับผู้อ่านเป็นจำนวนมากและได้รับการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง นักเขียนและกวี ชาว จ.สงขลา ศิษย์เก่า คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านนี้ ยังเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิปัสสนา ประติมากร และจิตรกร
ด้วยความโดดเด่นของผลงานภาพถ่ายที่ฉีกกรอบขนบและข้อจำกัดของศิลปะการถ่ายภาพ รวมถึงคณะกรรมการประทับใจแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ตั้งแต่ขั้นตอนการรวบรวม เสาะหา ค้นคว้าข้อมูล ไปจนถึงการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆทั่วโลก ความอดทนในการบันทึกภาพผ่านช่วงเวลาที่ยาวนาน ให้ภาพถ่ายเล่าเรื่องราวด้วยตัวมันเอง สามารถทำให้ ‘สถานที่’ เป็นองค์ประกอบสำคัญของภาพอย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะเป็นเพียงภูมิทัศน์ที่ ‘แปลกแตกแยก’ ไปพร้อมๆกับการถ่ายทอดเรื่องราวที่กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกและข้อสงสัยต่างๆอันนำไปสู่การตีความ ย้อนคิดและเกิดประเด็นพูดคุยถกเถียงต่อไป คือเหตุผลที่คณะกรรมการได้ตัดสินให้ อานูป แมทธิว โทมัส ศิลปินชาวอินเดียเป็นผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation – BACC Award for Contemporary Art ครั้งที่ 2
โดยผลงาน Street Art ของศิลปินแต่ละคน ถูกสร้างสรรค์ลงบนผนังอาคารและกำแพง ย่าน ถ.ทรงวาด ถ.เจริญกรุง และ ถ.สุรวงศ์ พื้นที่ซึ่งพยายามผลักดันให้เป็น Creative District หรือ พื้นที่สร้างสรรค์ ของกรุงเทพ ฯ