Category

Art Eye View

Category

ซ้ายมือคือ เปี๊ยก โปสเตอร์ หรือ สมบูรณ์สุข นิยมศิริ อดีตคนเขียนโปสเตอร์ภาพยนตร์ และอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ วัย 83 ปี และขวามือคือ ชวนะ บุญชู อดีตคนเขียนโปสเตอร์ภาพยนตร์ วัย 73 ปี ในช่วงเวลาที่ โปสเตอร์ภาพยนตร์ หรือ ใบปิดหนัง ประเภทที่ต้องเขียนด้วยมือได้รับความนิยม ทั้งสองท่านนี้ต่างก็เป็นผู้ที่หลายคนคุ้นหูกันดี ในฐานะ “มือฉมังใบปิดหนัง”

“ที่มาของชื่อภาพวาดชุดนี้ สืบเนื่องมาจากมุมมองในการเชื่อมโยงศิลปะและชีวิตประจำวันของเราเข้าไว้ด้วยกัน โดยมองว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่แตกต่างกัน ศิลปะเป็นสิ่งที่กลมกลืนในชีวิตประจำวันของมนุษย์อยู่แล้ว งานศิลปะคือช่วงของชีวิตในแต่ละช่วงที่สร้างสรรค์ขึ้นมา รูปภาพของเราก็เลยเกิดขึ้นจากความสุขง่ายๆ ในชีวิตประจำวันและความชอบส่วนตัวในสิ่งต่างๆ รอบตัว อาทิ สรีระที่สวยงามของผู้หญิง ดอกไม้และจินตนาการในวัยเด็กที่สวยงามเป็นต้น”

“ข้าพเจ้าไม่ได้ถ่ายภาพเพื่อบันทึกธรรมช่าติอย่างที่มันเป็น แต่ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในจิตใจของข้าพเจ้าที่มีต่อธรรมชาติ ให้ผู้ชมได้รับรู้” คือคำกล่าวของ สมชาย สุริยาสถาพร อาจารย์พิเศษสาขาศิลปะภาพถ่าย มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ร่วมกับศิลปินหญิงซึ่งทำงานศิลปะถ่าย จิตติมา เสงี่ยมสุนทร เปิด Cameraeyes School โรงเรียนที่สอนด้านศิลปะภาพถ่าย และล่าสุดทั้งสมชายและจิตติมา นำผลงานศิลปะภาพถ่ายของตัวเอง มาร่วมจัดแสดงกับผลงานของลูกศิษย์ ผ่านนิทรรศการ Thai *Land *Scape

อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์,พิม สุทธิคำ, ลิเกบายเดอรี่( โดย มะลิ จาตุรจินดา และ พันทิพา ตันชูเกียรติ),เจนนิเฟอร์ ฟอร์สเบิร์ก,เจนนี่ เคลมมิ่ง และคอริน กุสตาฟสัน คือ 6 ศิลปินไทยและสวีเดน ที่จะมีผลงานมาจัดแสดงร่วมกันผ่านนิทรรศการ Homo Faber นิทรรศการที่ว่าด้วยการเป็นมนุษย์ผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยมือตนเอง

ภาพถ่ายชุดนี้ของต้นเตยดึงความสนใจของผู้ชม ด้วยภาพของคนจำนวนมากที่กำลังอยู่ในอิริยาบถเดียวกัน เป็น Pattern เดียวกัน จนราวกับว่าเป็นคนๆเดียวๆ แต่เมื่อขยับเข้าไปชมใกล้ๆจะพบว่าแต่ละคนหน้าตาไม่เหมือนกัน “หนูต้องการจะสื่อว่า ทุกมีตัวตนของตัวเองแต่ถูกบีบด้วยกรอบ ด้วยค่านิยมในสังคม”

ภาพถ่ายชุดนี้ของต้นเตยดึงความสนใจของผู้ชม ด้วยภาพของคนจำนวนมากที่กำลังอยู่ในอิริยาบถเดียวกัน เป็น Pattern เดียวกัน จนราวกับว่าเป็นคนๆเดียวๆ แต่เมื่อขยับเข้าไปชมใกล้ๆจะพบว่าแต่ละคนหน้าตาไม่เหมือนกัน “หนูต้องการจะสื่อว่า ทุกมีตัวตนของตัวเองแต่ถูกบีบด้วยกรอบ ด้วยค่านิยมในสังคม”

Pin It