แพทริคนำเสนอภาพถ่ายของเขาจากภูมิทัศน์ที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่ และห่างไกลแถบตะวันตกของออสเตรเลีย สำหรับเขาคือสถานที่ซึ่ง “ความหวัง” และ “ความคลางแคลง” มาปะทะกัน เป็นภูมิทัศน์ที่มนุษย์ทอดทิ้ง และถึงแม้จะโดนทอดทิ้ง พื้นที่ว่างนั้นก็ยังมีรายละเอียด มีอารมณ์ มีชีวิต
แม้เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร จะเป็นพื้นที่ๆมีกิจกรรมทางด้านศิลปะกระจุกตัวอยู่มากที่สุด แต่ก็ใช่ว่าในต่างจังหวัดจะแห้งแล้งกิจกรรมทางด้านศิลปะ สัปดาห์นี้ ART EYE VIRE มีนิทรรศการและกิจกรรมทางด้านศิลปะที่น่าสนใจ ในหลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน มาแนะนำ ใครอยู่ใกล้จังหวัดไหน อย่าลืมหาเวลาไปแวะชมและร่วมกิจกรรม
หลายปีก่อน “จากตาเราสู่ใจเขา” นิทรรศการศิลปะเพื่อคนบอด ที่เคยจัดขึ้น ณ Terminal21 เมื่อปี 2555 (ปีเดียวกับที่ประเทศไทยได้มีการจัด งานประชุมสมัชชาสหภาพคนตาบอดโลก ครั้งที่ 8) ซึ่งเป็นการนำผลงานภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ มาถ่ายทอดผ่านงานประติมากรรมนูนต่ำ เพื่อให้คนตาบอดได้มีโอกาสสัมผัส ทำให้หลายคนได้รู้จัก ผศ.ดร.สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อนๆ ผู้มีความชื่นชอบในการถ่ายภาพ และมีส่วนผลักดันให้เกิดนิทรรศการในครั้งนั้น
เหล่านี้คือภาพของ “แบบจำลองพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน” ส่วนหนึ่งของโครงการในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ซึ่งผ่านการทำประชาพิจารณ์จากชาวบ้านในพื้นที่ และเป็นแบบที่จะใช้ในการจัดสร้างฯ พิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน ณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
มีคนในแวดวงศิลปะ ทั้งศิลปิน เจ้าของแกลเลอรี่ และพื้นที่ทางศิลปะ นักสะสม และผู้สนใจ ไปร่วมฟังหนาตาพอสมควร สำหรับกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ความเป็นมาของหอศิลป์ Saatchi (ซัทซี่) ” โดย นายไนเจล เฮิร์ท ผู้อำนวยการและกรรมการผู้จัดการ หอศิลป์ Saatchiกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อนที่ผลงานเกือบ 100 ชิ้น ของ 25 ศิลปินไทย จะถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมไทย Thailand Eye presented by Prudential ณ หอศิลป์ Saatchi ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 – เดือนมกราคม พ.ศ.2559 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งและกิจกรรมสุดท้ายของ เทศกาลไทยในสหราชอาณาจักร