คุณอยากจะถือกระเป๋าแบรนด์เนมสักใบ? เดี๋ยวนี้เงินไม่ใช่ปัญหา เพราะลูกค้าชาวจีนสามารถเช่าสินค้าแบรนด์เนมสุดหรูได้ที่ร้านค้าที่เปิดให้บริการ รวมทั้งทางแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยจ่ายเงินจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับราคาของสินค้า
การเติบโตของธุรกิจให้เช่าสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม เป็นไปอย่างก้าวกระโดดในจีน โดยนักธุรกิจที่ลงทุนได้กำไรเห็นๆ จากผลสำรวจของ เบน แอนด์ คอมพานี ธุรกิจกิจให้เช่าแบรนด์เนมสร้างรายได้ถึง 10% ของยอดขายสินค้าแบรนด์เนมในจีน
ก่อนหน้านี้ ธุรกิจดังกล่าวมีตลาดที่ใหญ่มากในสหรัฐฯ อย่าง เรนต์ แอนด์ รันอะเวย์ ที่ก่อตั้งในปี 2009 ถึงกับมีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก โดยตัวบริษัทมีมูลค่าถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ก่อนหน้านี้ เขายังเช่ากระเป๋าสตางค์ของลุยส์ วิตตอง ราคา 700 ดอลลาร์ มา 14 ดอลลาร์ สำหรับ 3 วัน “จริงๆ แล้วผมสามารถซื้อเป็นเจ้าของได้” หนุ่มจีนที่มีเงินเดือนปีละ 34,780 ดอลลาร์ กล่าวว่า “แต่ผมคิดว่า ราคามันแพงเกินไป
อย่างไรก็ตาม จีนก็ตามมาติดๆ ทั้งมีผู้ลงมาจับธุรกิจนี้มากขึ้น และก่อให้เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะพวกเขามองเห็นช่องทางทางการตลาด
อย่างเช่น มิส ปารีส ที่ก่อตั้งในปี 2015 ที่อาศัยสโลแกน “เป็นเจ้าของให้น้อย ใช้ชีวิตให้มาก” เพื่อโฆษณาบริการของพวกเขา ซึ่งนับว่า ได้ผลอย่างเหลือเชื่อ โดยส่วนใหญ่ลูกค้าของพวกเขามักจะเป็นหนุ่มสาวอายุน้อย ที่ต้องประเมินการใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน
เรนเจียนซง หนุ่มจีนวัย 26 เลือกที่จะเช่าสินค้าแบรนด์เนมแทนที่จะซื้อ โดยเขามักจะเช่าจากช็อปในกรุงปักกิ่ง ใบล่าสุดที่เช่ามาคือ ลุยส์ วิตตอง ดามิเยร์ นาวิกลิโอ เมสเชนเจอร์แบกสีน้ำตาลและแทน ที่ราคาขายเต็มๆ อยู่ที่ 1,600 ดอลลาร์ แต่เรนจ่ายเพียง 29 ดอลลาร์ก็ได้มาถือประดับบารมีถึง 3 วัน
“ผมต้องการสินค้าแบรนด์เนมสำหรับงานปาร์ตี้และธุรกิจ เพราะมันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ผมได้” เรนอธิบาย
หนุ่มจากปักกิ่ง รู้จักสินค้าแบรนด์เนมน้อยมาก จนกระทั่งได้มาทำงานในบูติกแฟชั่นในปี 2009 เขาซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม 2 ใบ จากชาเนลและดิออร์ และแหวนคาร์เทียร์ สนนราคารวม 508 ดอลลาร์
ในปี 2010 เขาเปิดบริษัทส่งเสริมการขายสินค้าแบรนด์เนม ที่ช่วยโปรโมทส้นค้าทั้งในห้างสรรพสินค้า และที่ขายอยู่บนเว็บไซต์
ทุกวันนี้ เขาเดินทางไปทั่วประเทศจีน เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าแบรนด์เนมที่เป็นลูกค้าของเขา ทั้ง ลุยส์ วิตตอง บุลการี และชาเนล
เรน เลิกซื้อแบรนด์เนมมาเป็นของตัวเองในปี 2010 หลังากที่ค้นพบ้าน วี2 แฟชั่นบูติก ในย่านกัวเหมา ศูนย์กลางธุรกิจใจกลางกรุงปักกิ่ง ที่นอกจากจะขายสินค้าแบรนด์เนมแล้ว ยังเปิดให้เช่ากด้วย ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นบริการที่มีน้อยในจีน
สำหรับคนที่จะเช่าสินค้า จะต้องวางเงินดาวน์เท่ากับราคาขาย และจ่ายเงินค่าเช่า 3 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเท่ากับ 3% ของราคาขาย
“คนธรรมดาทั่วไปมักจะไม่ได้มีโอกาสจะใช้สินค้าแบรนด์เนม คุณมีทางเลือกที่จะมาเช่า หากต้องการจะใช้ขึ้นมา” เรนกล่าว
จีน เป็นตลาดสินค้าแบรนด์เนมที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ต้องขอบคุณเศรษฐกิจโดยรวมของจีนที่มั่นคงมาตลอดหลายปี ทำให้บรรดาเศรษฐีจีนมีกำลังซื้อสูง
นิตยสารฟอร์บส์ รายงานว่า จีน มีมหาเศรษฐีระดับพันล้านถึง 146 คนในปี 2011 เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ประมาณ 14% ซึ่งเป็นรองเพียงสหรัฐฯ ที่มีมหาเศรษฐีพันล้าน 413 คน
“จริงๆ แล้ว นักช็อปถูกดึงดูดด้วยโลโก้ของสินค้าแบรนด์เนม แต่ไม่ได้รู้เรื่องราวความเป็นมาหรือวัฒนธรรมของแบรนด์สักเท่าไร” เรนแสดงความคิดเห็น
“คนจีนชื่นชอบการแสดงความร่ำรวยของตัวเองให้คนอื่นรู้ และพวกเขาเชื่อว่า สินค้าที่มีโลโก้ดังระดับโลกจะช่วยยกระดับทางสังคมได้ แต่พวกเขานิยมเป็นเจ้าของ ไม่ใช่การเช่า” กงเหลียง ผู้จัดการประจำสาขาในจังหวัดเจียงซู มณฑลนานจิง ของบริษัท เอาร์สเจีย เรนทัล เซอร์วิส กล่าว
“คนรวยบางคนชอบโชว์ความรวยด้วยการใช้สินค้าหรู ขณะที่มนุษย์เงินเดือนต้องรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายรายวัน เพื่อนำเงินมาซื้อสินค้าไฮ-เอนด์” กงเหลียงว่า
สำหรับ เอาร์สเจีย เรนทัล เซอร์วิส ที่มีสาขาในเมืองใหญ่ๆ ของจีนทั่วประเทศ มีสินค้าให้เช่ามากมาย ตั้งแต่เครื่องใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สินค้าดิจิทัล รถยนต์ รวมทั้งสินค้าแบรนด์เนม โดยราคาเช่ารายวันเป็นเรตระดับเดียวกับร้านอื่นๆ เพราะฉะนั้น ลูกค้าไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะต้องมาต่อรองราคา
หยางซู ผู้ร่วมก่อตั้งร้าน วี 2 บอกว่า “การดูแลสินค้าของเราให้ใหม่และดูดีอยู่เสมอ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความพอใจให้ลูกค้า” เขากับเพื่อนร่วมกันเปิดร้าน วี2 มาตั้งแต่ 7 ปีก่อน แต่ธุรกิจในปีแรกนั้นแย่มากๆ มีลูกค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หยางซูจึงพุ่งเป้าไปที่ช่องทางออนไลน์ เขาเปิดบูติกในแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตที่มหญ่ที่สุดในจีน อย่าง เถาเป่าดอตคอม และหมั่นอัพเดทบล็อกส่วนตัวที่ช่วยโปรโมทธุรกิจใหม่ที่ชาวจีนอาจไม่คุ้นเคย
ทุกวันนี้ ธุรกิจให้เช่าสินค้าแบรนด์เนมเติบโตปีละประมาณ 5% สินค้ายอดนิยม ได้แก้ กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ และกระเป๋าเดินทาง
อย่างไรก็ตาม วี2 ยังคงเน้นยอดขายสินค้าแบรนด์เนมมากกว่า เพราะรายได้จากการให้เช่าสินค้านั้น อยู่ที่เพียง 3% ของราคาขายเท่านั้น
“บริการให้เช่ามีกลุ่มลูกค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ที่เรายังทำอยู่ เพราะเชื่อว่า คนกลุ่มนี้อาจจะกลายเป็นคนที่ซื้อสินค้าแบรนด์เนมในอนาคต” หยางซูกล่าว
เขายังบอกอีกว่า ความท้าทายของบริการให้เช่าสินค้า ก็คือ สินค้าปลอมและเลียนแบบที่มีอยู่ทั่วไปในจีน ทำให้คนสงสัยว่าสินค้าที่ให้เช่านี่คือของแท้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าบางรายที่พยายามโกงร้านให้เช่า ด้วยการเอาสินค้าปลอมมาคืน
สัญญาเช่ายังระบุว่า ลูกค้าจะต้องรับผิดชอบหากสินค้าเสียหาย แต่ลูกค้าของ วี2 ส่วนใหญ่มักจะดูแลสินค้าแบรนด์เนมที่เช่าไปเป็นอย่างดี
เรนเจียนซง ที่เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อขายสินค้าลักซ์ชัวรี บอกว่ายังไม่ค่อยเห็นร้านเช่าสินค้าแบรนด์เนมมากนักนอกกรุงปักกิ่ง ขณะที่ เทียนจิง แฟนสาวของเขา ก็ชื่นชอบสินค้าแบรนด์เนมเช่นเดียวกัน และตามเขามาใช้บริการเช่าด้วย
ก่อนที่ เทียนจิง จะรู้จักกับเรน สาวแบงก์ไชน่า มินเช็ง ที่มีรายได้เดือนละ 1,570 ดอลลาร์ หมดเงินไปกับการซื้อสินค้าแบรนด์เนมมากกว่า 18,846 ดอลลาร์ ไม่ว่าจะเป็นแอร์เมส ชาเนล ดิออร์ ปราดา และคาร์เทียร์ เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ
“เพื่อนร่วมงานของฉันถือกระเป๋าแบรนด์เนมกันทั้งนั้น และยังใช้กระเป๋าเดินทางแบรนด์เนมด้วย เวลาไปท่องเที่ยวประจำปีที่แบงก์จัดให้พนักงาน” เทียนจิงกล่าว แต่ฉันได้ค้นพบว่า การเช่ามาใช้ตอบสนองความต้องการได้ แล้วยังประหยัดเงินอีกด้วย ตอนนี้เพื่อนๆ และพนักงานแบงก์คนอื่นๆ ก็ชื่นชอบบริการนี้กันมาก”
ซูหลี่ ผู้จัดการร้านสินค้าลักซ์ชัวรีใกล้ไซเทคพลาซ่า ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ บอกว่า บริการให้เช่าสินค้าแบรนด์เนม ช่วยให้มนุษย์เงินเดือนสามารถใช้สินค้าแบรนด์หรู แล้วยังเป็นการใช้สินค้าไฮ-เอนด์ อย่างคุ้มค่า
“ธุรกิจนี้จะคึกคักในช่วงวันหยุด ที่คนต้องการถือไปงานปาร์ตี้ งานแต่งงาน หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ” ซูหลี่ กล่าว
หวัง ที่เกิดในครอบครัวร่ำรวย และมีแบรนด์เนมกว่า 50 ชิ้นแล้ว ยังชื่นชอบบริการให้เช่าสินค้าแบรนด์เนม “หลังจากที่ผมเริ่มทำงาน ผมถึงรู้ว่า เงินทองนั้นหายาก ผมก็เลยคิดว่า เช่าเอาดีกว่าซื้อ” หนุ่มจีนที่มีเงินเดือน 7,853 ดอลลาร์กล่าว
Comments are closed.