>>“ฝ้า” มีทั้งชนิดตื้นและลึกที่อยู่ทั้งบนและลึกลงไปใต้ชั้นหนังกำพร้า แน่นอนว่าการรักษาฝ้าลึกนั้นยากกว่าฝ้าตื้น โดยปกติคนส่วนใหญ่มักพบฝ้าทั้งสองรูปแบบผสมกันอยู่ การรักษาจึงยิ่งยาก ไม่สามารถเจาะจงการรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ต้องผสานการรักษาด้วยเลเซอร์ที่เหมาะสมกับฝ้านั้นๆ
การเกิดฝ้ามีหลายสาเหตุเป็นตัวกระตุ้น ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น แสงแดด พันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด โรคบางอย่าง โรคอ้วน รวมถึงภาวะทางโภชนาการ อาหาร แม้กระทั่งปัญหาจากระบบการย่อยและดูดซึมที่ไม่ดี ก็นำมาสู่การเกิดฝ้าได้ การรักษาให้หายขาดจึงยิ่งยาก มักกลับมาเป็นซ้ำ บ้างก็ยิ่งรักษาหน้ายิ่งดำ ฝ้ากระจายกลายพันธุ์ ลุกลามทั่วใบหน้ายิ่งกว่าเดิม เพราะได้รับการรักษาไม่ถูกต้องและรักษาไม่ครบทุกปัญหาฝ้า
แพทย์หญิงอัจจิมา สุวรรณจินดา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเลเซอร์ผิวพรรณ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพและความงามเมดดิไซน์ กล่าวถึงสาเหตุความทนทานของฝ้าที่ทำให้รักษายากว่า เพราะฝ้ามีหลายสายพันธุ์ เช่น
1.“ฝ้าเครียด” เมื่อเครียดต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนเครียดกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิว สังเกตง่ายๆ เมื่อเครียดสีผิวจะเข้มขึ้น หน้าดำคร่ำเครียด ขณะที่ฝ้าเก่าสีจะยิ่งเข้มทวีคูณ ความเครียดยังแย่งตัวสร้างฮอร์โมนเพศ ให้แปรปรวนและเสียสมดุล
2.“ฝ้าฮอร์โมน” เมื่อเสียสมดุลฮอร์โมนเพศหรือมีภาวะของฮอร์โมนเอสโตรเจนเด่น เช่น ช่วงตั้งครรภ์ ใช้ยาคุมกำเนิด ใช้สารเคมีที่สูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมน ซึ่งมักพบในสารซักฟอก สเปรย์ปรับอากาศ โลชั่นแชมพู สบู่ น้ำหอม สารกันบูดในเครื่องสำอาง ฮอร์โมนเพศที่เสียสมดุลยังเป็นสาเหตุสำคัญของการกลับเป็นฝ้าซ้ำ “ฝ้าแดด” รังสี UV ในแดดจะกระตุ้นให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น ทั้งช่วงคลื่น UV-B และ UV-A โดยเฉพาะแดดช่วง 10.00-14.00 น. ส่งผลให้ผิวหนังไหม้เกรียมและเกิดฝ้า
3.“ฝ้าเลือด” พบบ่อยในสาวไทยและคนที่ซื้อยาฝ้ามาใช้เอง มักมีความผิดปกติของเส้นเลือดมาร่วมด้วย ผิวแดงง่ายเมื่อโดนความร้อนหรือแดด สังเกตได้จากช่วงเช้าที่อากาศเย็นเงาฝ้าจะจางลง ตกบ่ายอากาศร้อนฝ้าจะปรากฏเข้มชัดขึ้น อาจมองเห็นเส้นเลือดขยายตัวร่วมด้วย
4.“ฝ้าเคมี” เกิดจากการแพ้ การอักเสบจากการใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งมักมีสารเคมี สารกันบูดในเครื่องสำอาง น้ำหอม ครีมบำรุงหน้าขาวรักษาฝ้า ก่อให้เกิดปฏิกิริยาผิวไวต่อแสง
5.“ฝ้าผสม” โชคร้ายที่คนส่วนใหญ่เป็นฝ้าสารพัดสายพันธุ์นั่นคือเหตุผลที่ทำให้รักษาฝ้าอย่างไรก็ไม่หายขาด เพราะยังรักษาได้ไม่ครบทุกปัญหาฝ้า การรักษาที่เห็นผลระยะยาว ต้องรักษาทั้งภายในและภายนอกให้ประสานสอดคล้องกัน ระบบภายในร่างกายยังเป็นตัวแปรสำคัญในการรักษา เลือกเครื่องมือที่มีคุณภาพภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง พร้อมความมีวินัยของคุณเอง อย่ามัวสนใจแต่รูปลักษณ์ภายนอก เพราะฝ้าอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงการทำงานของอวัยวะภายในที่เสื่อมถอยของคุณค่ะ”
:: โบกมือลา ฝ้าหนา หน้าขี้เหร่
Tri-O Laser Program เลเซอร์ยังเป็นการรักษาหลักที่ใช้จัดการกับฝ้าจากภายนอกเพราะเม็ดสีที่เกาะตัวอย่างหนาแน่นจะถูกทำลายให้เบาบางลงอย่างรวดเร็ว แต่คุณสมบัติเลเซอร์ที่ใช้ต้องมีความจำเพาะกับชนิดฝ้าที่เป็น Tri-O Laser เป็นการผสานเลเซอร์ 3 ชนิดความยาวคลื่น เหมาะสำหรับปัญหาฝ้าผสมหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่เคยรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์แล้วไม่เห็นผล หรือเห็นผลช้าและฝ้ากลับมาเกิดซ้ำอย่างรวดเร็ว
Face cell Therapy การกลับมาเป็นฝ้าซ้ำ กว่า 80% เกิดจากภาวะร่างกายมีการเสียสมดุลภายใน การรักษาเพียงภายนอกด้วยเลเซอร์หรือสารเคมีฟอกฝ้าอาจไม่สามารถหยุดการลุกลาม กระจายตัวและกลายพันธุ์ของฝ้าได้ เทคโนโลยีเซลล์บำบัดช่วยกระตุ้นภูมิในเซลล์ผิวให้ตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น โดยปรับสมดุลภายในทั้งฮอร์โมน ภูมิต้านทาน ระบบประสาทและจิตใจ ให้มีความสมดุลสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
Vampire Facial Therapy เทรนด์ผิวสวยด้วยเลือดสุดฮอตในฝั่ง Hollywood ด้วยเทคนิคสร้างผิวกำเนิดใหม่ จากการค้นคว้า พัฒนา Biotechnology ในการคัดแยกและเก็บเกี่ยวเอา Growth Factor และ Cytokines เข้มข้น จากพลาสมาที่อุดมไปด้วยเกล็ดเลือด เสริมกลไกการฟื้นฟูเซลล์ทางชีวภาพตามธรรมชาติ ให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเอง เร่งสมานผิวที่บาดเจ็บ จึงลดเลือนริ้วรอย เม็ดสี จุดด่างดำ โดยเฉพาะฝ้าพันธุ์ผสมในคนสูงวัย หรือคนที่ผิวเสีย บอบบาง มาจากการรักษาฝ้าที่ผิดวิธี
การรักษาฝ้าที่ให้ผลยั่งยืน ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบร่วมกัน ผู้ที่รักษาฝ้าได้ดีที่สุด คือ แพทย์ผู้ให้การวินิจฉัย เลือกเครื่องมือและวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม รวมถึงตัวคุณเองในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือตลอดการรักษา ท้ายสุด…ความพยายามในการเอาชนะฝ้าอาจไม่ยากอย่างที่คุณคิด อย่างคุณสงสัยหรือมีคำถามเกี่ยวกับปัญหาฝ้า โทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพและความงามเมดดิไซน์ Hot Line: 08-9900-6100 สำนักงานใหญ่นอร์ธปาร์ค งามวงค์วาน โทรศัพท์ 0-2954-9440 คลิกเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.medisci.net
Comments are closed.